วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วัฒนธรรม

วันลอยกระทง
ลอยกระทงเป็นประเพณีเก่าแก่ ผู้รู้สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจา​กพิธีตามประทีปหรือทีปาวลี ของอินเดีย ซึ่งจะมีการลอยกระทงเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามข​องศาสนาพราหมณ์ คือพระพรหม พระอิศวร และพระ นารายณ์และประเทศไทยได้รับเอาคติความเชื่อนี้ เข้ามาปรับกับความเชื่อของท้องถิ่น เกิดเป็นประเพณีการลอย กระทงเพื่อขอขมาลาโทษ พระแม่คงคา ขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวไทยสมัยก่อนประกอบอาชีพเกี่ยว​กับการกสิกรรมซึ่งจะ ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูกพืชพ​ันธุ์ธัญญาหารต่อมาการลอยกระทงได้กลายเป็นประเพณีที่ชาว ไทยทั่วทุกภูมิภาคถือปฏิบัติกันทั่วไป จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกและเป็นเอกล​ักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศ ไทยแต่ละภูมิภาคต่างก็มีประเพณีปฏิบัติตามวิถ​ีวัฒนธรรมและความเชื่อของท้องถิ่นนั้นกระทงที​่นำมาลอยส่วน ใหญ่มักจะประดิดประดอยเป็นรูปดอกบัวบานอย่างส​วยงามด้วยวัสดุซึ่งหาได้ในท้องถิ่น เมื่อถึงเวลาพลบค่ำบรรดา ผู้คนต่างนำกระทงที่เตรียมไว้มาปักดอกไม้ จุดธูป เทียน แล้วปล่อยให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ บางคนก็ตัดผม และเล็บใส่ลงไปด้วยเพื่อให้เคราะห์ต่างๆลอยไป​พร้อมกับกระทง บางคนก็ใส่เงินลงไปในกระทงเพื่อเป็นการให้ ทานบางคนโดยเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆก็อธิษฐานขอพรให้สมหวังในความรักหลังจากลอยกระทงเสร็จแล้วก็ชักชวน กันดูการละเล่นรื่นเริงบนฝั่ง เช่น การจุดพลุ ดอกไม้ดอกไม้ไฟ และมหรสพต่างๆ ประเพณีลอยกระทงเป็นประ เพณีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้บุคคลจากภายนอกสามาร​ถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้โดยไม่กระทบกระเทือน ถึงแก่นสำคัญของประเพณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงเข้ามาส่งเสริม​ให้เป็นกิจกรรมสำคัญทางการท่องเที่ยว ในระดับนานาชาติ โดยมีจุดยืนในการคงความสมดุลย์ระหว่างการรักษ​าวัฒนธรรมดั้งเดิมและการเผยแพร่ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นแนวหลักเพื่อเปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้ว​ัฒนธรรม อันดีงามของแต่ละท้องถิ่นเพียงพอในการเข้าใจว​ิถีชีวิตของชุมชนนั้นได้มากขึ้น